กฎหมายน่ารู้

เรื่องของ “หนี้” ที่ “เจ้าหนี้” และ “ลูกหนี้” ควรรู้

เรื่องของ “หนี้” ที่ “เจ้าหนี้” และ “ลูกหนี้” ควรรู้

EP.1 “เจ้าหนี้” ควรรู้
ปัจจุบัน ว่าด้วยเรื่องเงินๆ ทองๆ นั้นไม่เข้าใครออกใครจริงๆ แต่ถ้าเงินขาดมือเมื่อไหร่ก็ต้องหามาเพื่อความอยู่รอดไม่ว่าจะจำเป็นหรือไม่ก็แล้วแต่บุคคล แต่เมื่อมีการ ยืมเงิน หรือ กู้เงิน หรือจากการทำสัญญาต่างๆ ที่ทำให้เกิดเจ้าหนี้และลูกหนี้ ขึ้นมาตามกฎหมาย แต่วันนี้จะมาว่าด้วยเรื่องของ “เจ้าหนี้” ว่าควรทำอะไรและไม่ควรทำอะไร

สิ่งที่ “เจ้าหนี้” ต้องปฎิบัติ ตาม พ.ร.บ. การทวงถามหนี้ พ.ศ. ๒๕๕๘
1. ห้ามทวงหนี้กับคนที่ไม่ใช่ลูกหนี้ (เว้นแต่บุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการดังกล่าว)
มาตรา ๘ วรรค ๑ ห้ามผู้ทวงถามหนี้ติดต่อกับบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้เพื่อการทวงถามหนี้ เว้นแต่บุคคล ซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการดังกล่าว

2. ต้องแสดงตัวทุกครั้งในการทวงหนี้ (กรณีติดต่อบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้หรือบุคคลที่ลูกหนี้ระบุไว้ให้ทวงถาม)
มาตรา ๘ วรรค ๒ (๑) แจ้งให้ทราบชื่อตัว ชื่อสกุล และแสดงเจตนาว่าต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหน

3. ห้ามเผยข้อมูลการเป็นหนี้ของลูกหนี้ (ห้ามบอกเรื่องหนี้ของลูกหนี้ต่อบุคคลอื่น ยกเว้นบุคคลใกล้ตัวของลูกหนี้ เช่น บิดา มารดา สามี ภรรยา หรือบุตร ได้สอบถามผู้ทวงถามหนี้ ผู้ทวงถามจะตอบได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น)
มาตรา ๘ วรรค ๒ (๒) ห้ามแจ้งถึงความเป็นหนี้ของลูกหนี้ เว้นแต่ในกรณีที่บุคคลอื่นนั้นเป็นสามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของลูกหนี้ และบุคคลอื่นดังกล่าวได้สอบถามผู้ทวงถามหนี้ถึงสาเหตุของการติดต่อ ให้ผู้ทวงถามหนี้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ได้เท่าที่จําเป็นและตามความเหมาะสม

4. ห้ามหลอกลวงบุคคลอื่นเพื่อให้ได้ข้อมูลของลูกหนี้
มาตรา ๘ วรรค ๒ (๔) ห้ามติดต่อหรือแสดงตนที่ทําให้เข้าใจผิดเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้ หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้

5. เวลาในการติดต่อทวงถามหนี้ ไม่ว่าจะโดยบุคคล หรือ โทรศัพท์ หรือ ติดต่อทวงถามจาก โซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือสื่อต่างๆ วัน จ-ศ ตั้งแต่เวลา 8.00-20.00 น. วันหยุดราชการ 8.00-18.00 น.
มาตรา ๙ การทวงถามหนี้ ให้ผู้ทวงถามหนี้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๒) เวลาในการติดต่อ การติดต่อโดยบุคคล โทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยี สารสนเทศประเภทอื่น ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ให้ติดต่อได้ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๒๐.๐๐ นาฬิกา และในวันหยุดราชการ เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา หากไม่สามารถติดต่อตามเวลา ดังกล่าวได้หรือช่วงเวลาดังกล่าวไม่เหมาะสม ให้ติดต่อได้ในช่วงเวลาอื่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่คณะกรรมการประกาศกําหนด

6. ห้ามติดตาม หรือ ติดต่อวันละหลายครั้งจน เกิดความเดือดร้อนรำคาญ (ห้ามติดต่อลูกหนี้รัวๆ นาจา)
มาตรา ๙ (๓) จํานวนครั้งที่ติดต่อ ในช่วงเวลาตาม (๒) ให้ติดต่อตามจํานวนครั้งที่เหมาะสมและคณะกรรมการ อาจประกาศกําหนดจํานวนครั้งด้วยก็ได้

7. ถ้าเป็นผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ ต้องแสดงหลักฐานการมอบอำนาจด้วย
มาตรา ๙ (๔) ในกรณีที่เป็นผู้รับมอบอํานาจจากเจ้าหนี้ ผู้รับมอบอํานาจช่วงในการทวงถามหนี้ ผู้ประกอบ ธุรกิจทวงถามหนี้ หรือผู้รับมอบอํานาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ ให้ผู้ทวงถามหนี้แจ้งให้ ทราบถึงชื่อตัวและชื่อสกุล หรือชื่อหน่วยงานของตนและของเจ้าหนี้ และจํานวนหนี้ และถ้าผู้รับมอบอํานาจ ดังกล่าวทวงถามหนี้ต่อหน้า ให้แสดงหลักฐานการมอบอํานาจให้ทวงถามหนี้ด้วย

8. ห้ามทวงหนี้ผ่านโซเชียล (เช่นไปโพสทวงถามหนี้หน้าเฟซบุ๊กซึ่งเสมือนสาธารณะทำให้เพื่อนของเจ้าของเฟซหรือบุคคลอื่นเข้ามาอ่าน แบบนี้ไม่ได้ นะจ๊ะ)
มาตรา ๑๑ ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะดังต่อไปนี้

(๓) การแจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา ๘ วรรคสอง (๒)

ข้อ 8. นี้โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสน นาจา

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงข้อมูลสาระน่ารู้ว่า “เจ้าหนี้” ควรจะปฎิบัติอย่างไรเวลาจะทวงถามหนี้
แต่ผู้เขียนก็เข้าใจว่าสังคมสมัยนี้ มีผู้เป็น “ลูกหนี้” อยู่มากและส่วนหนึ่งก็จะเป็นประเภท “ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย” แต่ยังไงก็อยากให้ทวงหนี้กันอย่างใจเย็น ๆ สักนิดหรือพึ่งกระบวนการยุติธรรม ในการบังคับชำระหนี้ ดีกว่าการใช้กำลังบังคับ นาจา

ส่วน “ลูกหนี้” อย่าเพิ่งน้อยใจไป ผู้เขียนจะทำข้อมูลในส่วน ของ “ลูกหนี้” ควรรู้ใน EP. ต่อไป (เนื่องจากมีเวลาน้อยมากจริมๆนาจา)

บทความโดยแอดมิน เพจครบเครื่องเรื่องกฏหมาย

เข้าสู่หน้าหลัก >>>ejcomment.com
ไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ … อย่าลืมกดติดตามด้วยนะจ๊ะ ^^

พูดคุยกับเจ้ เมาท์มอยวงการกีฬาติดตามได้ในเพจนี้นะจ๊ะ

อยากรู้เรื่องกฏหมาย ฝากติดตามเพจครบเครื่องเรื่องกฎหมายด้วยนะจ๊ะ

Facebook Comments