หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้เจ้าหนี้ควรทำอย่างไร?
EP.3 เรื่องของ “หนี้” (อีกแล้ว)
ใน EP. ก่อนหน้านี้ว่าถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของ พ.ร.บ.ทวงถามหนี้ ไปแล้วคราวนี้จะมาว่ากันด้วยหลักของความเป็นจริงใน บทความก่อน ๆ ดูแล้วเหมื่อนจะทำให้ “ลูกหนี้” ดีใจหรือเหนี่ยวหนี้มากขึ้นซึ่ง ผู้เขียนเองก็ไม่แนะนำให้ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นะอยากจะบอกว่ายืมเค้ามาแล้วก็ อยากให้ชำระคืนเจ้าหนี้บ้าง จะได้ไม่มีปัญหาเกิดขึ้นภายหลัง เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ก็จำเป็นกับทุกคนในชีวิตจริงทั้งนั้นตัวเจ้าหนี้เองบางครั้งก็อาจมีเรื่องเดือดร้อน จนต้องการเงินจากลูกหนี้คืนจริง ๆ แต่การที่มี กฎหมายออกมาบังคับเจ้านี้ห้ามทำนู้นห้ามทำนี้ดูเหมื่อนจะทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบแหละไม่กล้าทวงถามหนี้จากลูกหนี้ การที่กฎหมายต้องออกมาควบคุมการทวงหนี้ของเจ้าหนี้ เพราะ สังคมปัจจุบัน ตัวลูกหนี้เองก็ผิดนัดไม่ชำระหนี้แบบไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย มันก็แน่นอน ที่เจ้าหนี้ต้อง เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีและ แสดงออกไป เช่น ใช้กำลัง ข่มขู่ ดูหมิ่น หรืออื่นๆ กฎหมายเลยต้องควบคุมการกระทำส่วนหนี้ไว้ แต่. . .
กฎหมายก็ไม่ได้บอกว่า “ห้ามทวงหนี้” เพียงแต่ทวงให้ถูกที่ถูกเวลาเท่านั้น
กฎหมายไม่ได้บอกว่า “ห้ามส่งข้อความทวงหนี้” เพียงแต่ส่งให้เป็นการส่วนตัวไม่เป็นการประจารลูกหนี้เท่านั้น
กฎหมายไม่ได้บอกว่า “ห้ามติดต่อลูกหนี้” เพียงแต่ติดต่อให้ถูกคนก็พอ เช่น บิดามารดา สามี หรือ ภรรยา
(ห้ามแต่บุคคลอื่น เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน หรือบุคคลไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง)
การห้ามต่างๆที่กฎหมายระบุมา ล่วนมาจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมและเป็นสิ่งที่โหดร้ายเกินไปจึงบังคับไว้
วันนี้เราจะมาดูกันว่า เจ้าหนี้ควรทวงหนี้โดยการพึ่งศาล (มิใช้ยกมือไหว้ขอพรศาลเจ้านาจา)
การฟ้องร้องเรื่องหนี้ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องหน้ากลัวอย่างที่คิด เพราะคดีเรื่องหนี้สินในชั้นศาลนั้นเยอะแยะมากมาย (เยอะจนล้นศาลได้เลย) แต่คดีเกี่ยวกับหนี้สินถ้าข้อเท็จจริงไม่ซับซ่อนมากมายส่วนใหญ่จะจบเร็วไม่ยืดเยื้อ
และการฟ้องเรื่องหนี้นั้นเป็นคดีทางแพ่งไม่มีติดคุก ส่วนขั้นตอนการฟ้องนั้นจะแบ่งเป็นส่วนๆ
ส่วนแรกต้องดูเรื่องเอกสารหลักฐานการกู้ยืมเงินก่อนหากเวลากู้เราได้ทำเอกสารไว้เป็นหลักฐาน (ไม่จำเป็นต้องเป็นสัญญากู้ยืมอย่างเดียวอาจจะเป็น การเขียนเองในเวลากู้ว่า นาย ก ยืมเงินจากนาย ข เท่านั้นเท่านี้วันที่. . . และมีลายมือชื่อของผู้ยืมเป็นสำคัญ ต้องเป็นเอกสารจริง ๆ นะจ๊ะ มิใช่เขียนเองลงลายเซ็นเอง แบบนี้ผิดนะจ๊ะมีโทษด้วย)
มาตรา 653 การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว
ส่วนที่สองเมื่อผู้ยืมผิดนัดชำระหนี้กู้ยืม นี้แหละ ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย เมื่อไหร่ เราก็สามารถฟ้องร้องได้ แต่ก็ต้องผิดนัดก่อนนะ มิใช่ ยืมวันนี้ ตกลงคืนเดือนหน้า แต่พรุ้งนี้ไป ฟ้อง แบบนี้ลูกหนี้ยังไม่ผิดนัด
มาตรา 213 ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้
ส่วนที่สาม ฟ้องจ้าฟ้อง ฟ้องร้องคดีเรียกหนี้เงินเลย ตอนนี้แหละแนะนำให้ไปปรึกษาทนายความใกล้บ้านคุณเลย
จ้าเจ้าหนี้ทั้งหลายก็ต้องแต่งตั้งทนายความเข้าดำเนินคดีฟ้องร้องต่อศาล แนะนำให้เอาหลักฐาน การกู้ยืม หรือสัญญา
หรือหลักฐานต่างๆ เช่น สลิปโอนเงิน หรือ อะไรก็ตามที่คิดว่าเป็นหลักฐานการกู้ยืมเข้าไปปรึกษาทนายความเลยจ้า
ทนายความส่วนใหญ่เคยผ่านการฟ้องร้องคดี เรื่อง เงิน ๆ ทอง ๆ ทั้งสิ้น และระวังเรื่องอายุความด้วยเน้อ กรณีเป็นหนี้บัตรเครดิตจะมีอายุความ 2 ปี กรณีสินเชื่อส่วนบุคคล อายุความ 5 ปี กรณีการกู้ยืมเงินทั่วไปอายุความ 10 ปี
สุดท้ายนี้ ขอให้เจ้าหนี้ได้เงินคืน และ ขอให้ลูกหนี้ จ่ายเงินคืนเจ้าหนี้ จบ. . . บั๊ย
กดอ่าน EP.1 >>> “เจ้าหนี้ควรรู้”
กดอ่าน EP.2 >>> “ลูกหนี้ควรรู้”
บทความโดยแอดมิน เพจครบเครื่องเรื่องกฏหมาย
เข้าสู่หน้าหลัก >>>ejcomment.com
ไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ … อย่าลืมกดติดตามด้วยนะจ๊ะ ^^
พูดคุยกับเจ้ เมาท์มอยวงการกีฬาติดตามได้ในเพจนี้นะจ๊ะ
อยากรู้เรื่องกฏหมาย ฝากติดตามเพจครบเครื่องเรื่องกฎหมายด้วยนะจ๊ะ