ในวันที่วอลเลย์บอลหญิงไทยไม่มี 7 เซียนนั้นเป็นอย่างไร?
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาวอลเลย์บอลไทยเกือบจะเรียกได้ว่าใช้ผู้เล่นชุดเดิมคือชุด 7 เซียน ซึ่งเป็นผู้เล่นชุดที่เป็นที่รักและชื่นชอบไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น … แต่ที่เวียดนามเองก็เช่นกัน ชื่นชมในความสามารถและความมีสปิริต ต่อสู้ได้อย่างยอดเยี่ยม … และยิ่งไปกว่านั้นพวกเขาคือคู่ต่อสู้ที่ได้นำความรักจำนวนมากมายมาสู่ทีมวอลเลย์บอลหญิงเวียดนามด้วย
ความสำเร็จของวอลเลย์บอลไทยคือการฝึกฝนตามแบบฉบับวอลเลย์บอลสมัยใหม่ เนื่องจากพวกเรามีข้อจำกัดด้านความสูง พวกเขาจึงหาสไตล์การเล่นเป็นของตัวเอง … ความแข็งแรงและความเร็วคือรูปแบบที่พวกเขานำมาประยุกต์ใช้และนั่นคือกุญแจที่ทำให้ประสบความสำเร็จ จำได้ว่าในช่วงปี 2004-2006 ที่พวกเขาได้เข้าร่วมรายการระดับโลกใหม่ๆ ทีมชาติไทยโชว์ฟอร์มการเล่นได้ดีอย่างน่าประหลาดใจเอาชนะทีมที่แข็งแกร่งได้อย่างมากมาย ด้วยผู้เล่นที่มีความสูงเฉลี่ยเพียง 174 ซม. เท่านั้น มีการโจมตีที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งในช่วงเวลานั้นเองก็ได้ก่อกำเนิดนักวอลเลย์บอลในยุคที่มีชื่อว่า ยุค 7 เซียน ซึ่งได้แก่ วิลาวัณย์ ปลื้มจิตร์ นุศรา มัลลิกา อัมพร อรอุมา และลิเบอโร่ วรรณา
ในรายการชิงแชมป์เอเชียปี 2009 ที่จัดขึ้น ณ กรุงฮานอย เวียดนาม ทีมไทยได้ครองบัลลังค์แชมป์เป็นครั้งแรกหลังจากเอาชนะทีมชาติจีนไปได้ ซึ่งวันนั้นเองทำให้เกิดเครื่องหมายการค้าที่เรียกกันติดปากว่าตำนาน 6 เซียน … นอกจากนี้ในปี 2009-2011 พวกเธอยังคงประสบความสำเร็จด้วยการคว้าแชมป์สโมสรเอเชียติดต่อกันถึง 3 ปีซ้อน และยิ่งไปกว่านั้นในปี 2012 และ2013 พวกเธอยังคงครองความเป็นเจ้าเอเชียด้วยการคว้าแชมป์รายการวอลเลย์บอลหญิงชิงชนะเลิศแห่งเอเชียและแชมป์รายการเอวีซี คัพไปครองอีกด้วย … ในปลายปี 2013 หนึ่งในหกเซียนที่รู้จักกันในนาม “เจ้าแม่ไหลหลัง” อัมพร หญ้าผา ก็เป็นอันต้องจากลาจากทีมไปเพื่อไปเป็นคุณแม่ และราวๆ ปี 2014 มัลลิกาก็มีอาการบาดเจ็บจนไม่สามารถเค้นฟอร์มเก่งกลับมาได้
ในช่วงปี 2015 ทีมไทยเริ่มสรรหาดาวรุ่งใหม่ๆ เข้ามาทดสอบและแทนที่รุ่นพี่ และเนื่องจากกัปตันทีมวิลาวัณย์เริ่มมีสัญญาณการเล่นที่ถดถอยลงและโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เล่นอย่างปลื้มจิตร์ก็ประสบปัญหาอาการบาดเจ็บ และเริ่มเข้าสู่เส้นทางที่ยากลำบากมากขึ้นในโอลิมปิกปี 2016 ผู้เล่นคนสำคัญอย่างอรอุมาก็เล่นได้ต่ำกว่ามาตรฐานเนื่องจากอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อท้อง ยิ่งไปกว่านั้นนุศราเองก็ไม่สามารถรักษาเสถียรภาพในการจ่ายบอลได้อย่างเช่นเคย แต่มีสิ่งหนึ่งที่พิเศษที่มาแทนที่เสาหลักที่ได้รับบาดเจ็บ และทำให้รูปเกมการเล่นของไทยไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก
อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน เมื่อลิเบอโร่วรรณา บัวแก้วประกาศอำลาทีมชาติอย่างเป็นทางการ และอรอุมาเองก็ยังไม่หายจากอาการบาดเจ็บ … นี่คือเวลาที่เหล่าบรรดาดาวรุ่งจะได้มีโอกาสเข้ามาฝึกประสบการณ์ ในเรื่องของเกมกีฬานี่ถือเป็นสิ่งที่สำคัญเมื่อผู้เล่นรุ่นพี่เริ่มอายุมากขึ้นและมีระดับการเล่นที่ถดถอย ก็ถือเป็นโอกาสที่เหล่าดาวรุ่งจะได้ลงเล่นเพื่อฝึกฝน และในรายการมงเทรอซ์ มาสเตอร์ 2017 ทีมชาติไทยมีเพียงรุ่นพี่รุ่นเก่าเพียง 2 คนเท่านั้น คือ ปลื้มจิตร์และวิลาวัณย์ การได้ใช้งานผู้เล่นที่เป็นดาวรุ่งและเป็นอนาคตของวอลเลย์บอลทีมชาติไทย ยกเว้นอัจฉราพรเนื่องจากได้รับบาดเจ็บ และถูกใช้งานมาอย่างต่อเนื่องทำให้ผลงานของรองแชมป์เก่าปี 2016 ต้องตกรอบแรก จากการแพ้ 2 นัดรวด รูปแบบการเล่นของไทยในปัจจุบันประสบปัญหาอย่างมากในเรื่องของการรับบอลแรก และการป้องกันในพื้นที่แถวหลังก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร … หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือวิลาวัณย์ซึ่งเป็นผู้ที่มักจะได้รับบอลเสิร์ฟเสมอในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับอรอุมา แต่ในปัจจุบันวิลาวัณย์ไม่สามารถทำผลงานได้ดีเหมือนเดิมแล้ว จะถูกเรียกใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น … ในส่วนของมัลลิกานั้นก็มักจะได้เป็นผู้รับเสิร์ฟและป้องกันอยู่เสมอ และปัจจุบันก็เป็นพิมพิชยาที่มาทำหน้าที่นี้ … นั่นคือเหตุผลที่ทำให้ขาดในเรื่องความมีเสถียรภาพ
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าในปัจจุบัน พวกเขาพยายามพาดาวรุ่งไปหาประสบการณ์และไม่ใช้ผู้เล่นรุ่นเก๋า … ดังนั้นวอลเลย์บอลเวียดนามก็ตามไทยได้ในระยะห่างที่ไม่ไกลเหมือนแต่ก่อนแล้ว … นี่คือสัญญาณที่ดีสำหรับวอลเลย์บอลเวียดนามที่จะตั้งเป้าหมายใหม่ และฟอร์มการเล่นใหม่ในปีนี้ … แต่ก็เห็นชัดแล้วว่าหลังจากยุค 6 เซียนแล้ว … ทีมไทยเองก็คงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะหาผู้เล่นมาแทนที่ได้
เข้าสู่หน้าหลัก >>>ejcomment.com
ไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ … อย่าลืมกดติดตามด้วยนะจ๊ะ ^^